Open Every Day
022772818

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง Food Intolerance Test (IgG)

27 พ.ค., 2020 | bangkok7_bangkok77 | No Comments

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง Food Intolerance Test (IgG)

การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง Food Intolerance Test (IgG)

มนุษย์แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกัน แม้แต่ฝาแฝดก็ยังมีความแตกต่างกันได้ ปฏิกิริยาต่ออาหารของแต่ละคนก็เป็นลักษณะเฉพาะตัว อาจคล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็เป็นได้ การสันนิษฐานว่าแต่ละคนควรบริโภคอาหารชนิดใดจึงจะปลอดภัยนั้น เป็นการคาดเดาจากประสบการณ์ลองผิดลองถูก ต้องเสียเวลามาก โดยอาจไม่ได้คำตอบที่ชัดเจน จึงมีผู้ค้นคว้าหาวิธีทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยในการเลือกอาหารที่เหมาะสมในแต่ละคน เรียกว่า Food Intolerance Test

 

Food Intolerance Test (IgG) เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อวิเคราะห์ว่าร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่ออาหารชนิดใดบ้าง เมื่อทราบว่าร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้านโดยการสร้างสารภูมิต้านทานต่ออาหารชนิดใด การหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารชนิดนั้นจะมีผลหยุดยั้งการอักเสบในอวัยวะต่างๆ ช่วยให้สุขภาพกลับสู่สมดุลโดยไม่ต้องใช้ยา เป็นวิธีการทางธรรมชาติบำบัดที่ได้ผลดีมากอย่างหนึ่ง

ปฏิกิริยาภูมิต้านทานของร่างกายที่มีต่ออาหาร แบ่งเป็น 2 แบบได้แก่

แบบที่ 1 เป็นปฏิกิริยาที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อของโรคภูมิแพ้ปฏิกิริยาชนิดนี้เกิดจากการที่ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานชนิด อิมมูโนโกลบูลินอี (IgG) ซึ่งจะกระตุ้นปฏิกิริยาต่อเนื่องให้เกิดการหลั่งสารฮิสตามีน ก่อให้เกิดอาการเฉียบพลัน ได้แก่ ผื่นลมพิษ (Urticaria) หอบหืด (Bronchial Asthma) หรืออาการช็อคชนิดอานาไฟแลคติก (Anaphylactic shock) การวินิจฉัยสามารถทำได้โดย จากการสังเกตอาการ การทำทดสอบผิวหนัง หรือการตรวจสารภูมิแพ้ชนิดอิมมูโนโกลบูลินอี (IgG) ในเลือดผู้ป่วย ว่าทำปฏิกิริยาต่อต้านสารแปลกปลอมชนิดใด แปลว่า ผู้ป่วยมีภูมิแพ้ต่อสารนั้นการรักษาทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่แพ้ และรับยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) เมื่อเกิดอาการ การรักษาให้หายจากการแพ้ทำได้โดยการกระตุ้นด้วยสารที่แพ้อย่างอ่อนๆในระยะเวลาหนึ่งจนร่างกายเคยชินไม่ต่อต้านสารนั้นอีก

แบบที่ 2 เป็นกลุ่มที่พบได้มากถึง 75% ของปฏิกิริยาภูมิต้านทานผิดปกติ เป็นปฏิกิริยาอื่นๆ ที่เกิดจากการที่ร่างกายสร้างสารภูมิต้านทานชนิด อิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ต่อสารแปลกปลอมหรืออาหาร ซึ่งมักจะเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป อาการเป็นๆหายๆแบบเรื้อรัง ตั้งแต่ผื่น ผิวหนัง ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดข้อ อ่อนเพลียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ หรือปวดศรีษะไมเกรน จนถึงอาการสมาธิสั้น และออทิสติก เป็นต้น ทำให้การวินิจฉัยให้แน่ชัดค่อนข้างยาก

สำหรับโรคที่เกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) นี้ ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันพบว่า สารภูมิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ซึ่งร่างกายของเราสร้างขึ้นมานี้ จับกับสารแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย จะกลายเป็นองค์ประกอบที่เรียกว่า อิมมูนคอมเพล็กซ์ (Immune Complex) ลอยไปในกระแสเลือด และไปติดอยู่ตามอวัยวะต่างๆ จึงสามารถตรวจพบสารอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ในเนื้อเยื่อของร่างกาย เช่น ผิวหนังบริเวณที่เป็นรอยโรคชนิดต่างๆ ในผนังลำไส้ ในเนื้อไต ในเนื้อผนังหลอดเลือด เป็นต้น อิมมูนคอมเพล็กซ์เหล่านี้กระตุ้นร่างกายให้สร้างสารชีวเคมีที่ก่อให้เกิดอาการต่างๆขึ้น แต่เนื่องจากอาหารที่คนเรารับประทานมีความหลากหลาย ทั้งชนิดและปริมาณ การกระตุ้นปฏิกิริยาจึงไม่เด่นชัดในคราวเดียว เกิดลักษณะของอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆไม่รุนแรงมากจนเป็นโรคใดโรคหนึ่งชัดเจน และสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นโรคที่รักษาไม่หาย เช่น โรครูมาตอยด์ โรคลำไส้ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันก็มีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยกลุ่มนี้ และมีการสันนิษฐานว่าปฏิกิริยาภูมิต้านทานต่ออาหารชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) นี้น่าจะเป็นสาเหตุหรือสาเหตุร่วมของโรคต่างๆอีกมากมาย เช่น อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการซึมเศร้า สมาธิสั้น ออติสติก เบาหวาน โรคในระบบทางเดินอาหาร หูอักเสบ อ่อนเพลียเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ผื่นคัน สิว ปวดศรีษะ ไมเกรน กรดไหลย้อน เชื้อรา ข้ออักเสบ ฯลฯ

อาการที่มีความสัมพันธ์กับภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้

-ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ จาม หายใจลำบาก ภูมิแพ้ ติดเชื้อในหู กรน หยุดหายใจขณะนอนหลับ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ

-ระบบภูมิคุ้มกัน เช่น มีไข้ หรือติดเชื้อได้ง่าย เป็นแผลในปาก ติดเชื้อรา

-ระบบประสาท เช่น เชื่องช้า ซุ่มซ่าม ปวดหัว ไมเกรน เครียด มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ โรคจิตเสื่อม

-ผิวหนัง ผม และเล็บ เช่น โรคเรื้อน ผิวหนังอักเสบ ลมพิษ ผื่นแดง ผมร่วง เล็บฉีกหัก รังแค

-ระบบเผาผลาญ เชน หงุดหงิด น้ำหนักเกิน น้ำหนักลด หนาวสั่น ไทรอยด์เป็นพิษ

-ระบบกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อหรือข้อล็อค เอ็นหรือข้ออักเสบ กระดูกบาง กระดูกแตก กระดูกพรุน

-ขาดสารอาหาร เช่น อ่อนเพลีย สมาธิสั้น ขาดวิตามิน ขาดธาตุเหล็ก โลหิตจาง ขาดแคลเซียม

-ระบบทางเดินอาหาร เช่น ลำไส้แปรปรวน (IBS) ท้องเสีย ท้องผูก อาหารไม่ย่อย แผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำไส้

-ระบบสืบพันธุ์ เช่น ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มีบุตรยาก แท้ง

 

 

 

 

 

การวินิจฉัยว่าอาหารชนิดใดที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ต้องอาศัยการตรวจพิเศษที่เรียกว่า Food Intolerance Test หรือการตรวจภูมิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) ต่ออาหาร ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า ไมโครอาเรย์ (Microarray) สามารถตรวจหาปฏิกิริยาต่อสารอาหารได้ถึง 221 ชนิด โดยใช้เลือดเพียง 10 ไมโครลิตร (0.001 ซีซี) และสามารถใช้การเจาะเลือดจากปลายนิ้วแทนการเจาะจากเส้นโลหิตดำได้ ในกรณีที่เจาะเลือดยาก เช่น เด็ก ผู้สูงอายุที่เส้นเลือดเปราะ

 

รายการผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแจ้งให้ทราบว่าอาหารชนิดใดที่ร่างกายมีการสร้างสารภูฒิต้านทานชนิดอิมมูโนโกลบูลินจี (IgG) มาต่อต้าน หากมีปริมาณการต่อต้านในระดับสูงแสดงว่า อาหารชนิดนั้นน่าจะเป็นสาเหตุของอาการเรื้อรังในผู้ป่วย ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงโดยเลือกบริโภคอาหารชนิดอื่นที่ม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาแทน ทั้งนี้ในรายงานจะแสดงอาหารในกลุ่มเดียวกันที่บริโภคแทนได้ให้เห็นด้วยเป็นการสะดวกต่อผู้ป่วย และสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อรักษาตัวเองตามแนวทางธรรมชาติบำบัดโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับอาการ

กาตรวจพบภูมิต้านทานต่ออาหารนี้ไม่ใช่เครื่องบ่งชี้ว่าผู้ป่วยจะไม่สามารถบริโภคอาหาชนิดนั้นตลอดชีวิต แต่เป็นเครื่องแสดงว่าในขณะนั้นอาหารชนิดนั้นเป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะมีการกระตุ้นในระดับสูง เมื่องดบริโภคในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งควรจะเว้นอย่างน้อย 3 เดือน (อาจนานกว่านั้น ในเด็ก หรือผู้ที่มีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย) และอาการที่ทรมานอยู่นั้นได้หายไปแล้ว ก็สามารถกลับมาบริโภคอาหารชนิดนั้นได้อย่างระมัดระวัง และผู้ที่ห่วงใยสุขภาพทุกคนก็ควรต้องระวังตัวเองโดยการไม่บริโภคอาหารชนิดเดียวกันซ้ำซาก ควรเปลี่ยนเมนูอาหารทุกสัปดาห์ โดยเลือกอาหารกลุ่มที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยามาหมุนเวียน จะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้ หากไม่แน่ใจว่าร่างกายปลอดภัยจากการกระตุ้นภูมิต้านทานผิดปกติก็สามารถรับการตรวจ Food Intolerance Test ได้อีก

 

การแปลผลกาตรวจ Food Intolerance Test รายงานผลจะแบ่งความรุนแรงเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มสีแดง กลุ่มสีเหลือง และกลุ่มสีเขียน

 

ข้อควรระวัง พึงระวังอาหารบางอย่าง เช่น นม ไข่ เป็นส่วนผสมของอาหารหลายชนิด เช่น เนย เนยแข็ง เค้ก ขนมหวาน ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวผัด ซอสราดสปาเก็ตตี้ เป็นต้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ด้วย

การปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ หลายท่านอาจเกิดความวิตกและพยายามหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นๆ เมื่อตรวจพบการรับอาหารบางชนิดไม่ได้ อย่างไรก็ตามไม่ว่าผลการตรวจของคุณจะเป็นอย่างไร คุณควรจะรักษาความสมดุลในการรับประทานอาหาร และใส่ใจในการเลือกรับประทานอาหารให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดควรอ่านคู่มือภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เพื่อความถูกต้องครบถ้วนในการได้รับสารอาหารในแต่ละวัน

 

 

ศูนย์การแพทย์ฟื้นฟูสุขภาพ Bangkok Anti-Aging Center – BAAC ดำเนินงานภายใต้การดูแลมาตรฐานระดับสากลโดยมีการคิดค้นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความพร้อมในด้านองค์ความรู้วิทยาการทางการแพทย์ และมาตรฐานการรักษาซึ่งมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมบุคลากรมืออาชีพ ที่มากด้วยประสบการณ์และความชำนาญสูงคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ด้วยบรรยากาศที่ให้ความผ่อนคลาย และเป็นกันเอง เพื่อให้เป็นศูนย์การแพทย์ครบวงจร มีบริการด้านสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ และความงาม ซึ่งเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้คนในยุคปัจจุบัน ที่หันมาใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น เราพร้อมที่จะดูแลและใส่ใจท่านเสมือนคนในครอบครัวภายใต้การบริการที่ดีที่สุด เพื่อความสุขของท่าน เเละคนที่ท่านรัก ปัจจุบันมีบริการทั้งหมด 3 สาขา สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อรับคำปรึกษาปัญหาสุขภาพที่ตรงที่เบอร์  02-2772818 หรือแอดไลน์ ID : @BAAC

Bangkok Anti Aging Center – BAAC (Sutthisan)                               02-2772893 / 02-2772894

Bangkok Anti Aging Center – BAAC (Bangna)                                   02-0075115/ 02-0075116

Bangkok Anti Aging Center – BAAC (Pathumwan or Siam)         02-0487032/ 02-0487034

Write Reviews

Leave a Comment

Please Post Your Comments & Reviews

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

No Comments & Reviews