การอัลตร้าซาวนด์ เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เกิดภาพ สามารถตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ แพทย์สามารถนำมาประกอบการวินิจฉัยโรคได้แม่นยำขึ้น
การตรวจสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำเป็นประจำทุกปี แต่นอกจากการตรวจสุขภาพโดยทั่วไปแล้ว การตรวจสุขภาพของช่องท้องก็ไม่ควรมองข้าม เพราะภายในช่องท้องนั้นมีอวัยวะสำคัญมากมาย
“อัลตร้าซาวนด์” สามารถตรวจส่วนไหนได้บ้าง ประโยชน์อย่างไร และสามารถช่วยสแกนโรคอะไรได้บ้าง
ตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
ได้แก่ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี และช่องท้องทั่วไป
– ตรวจนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วในทางเดินปัสสาวะ
– ตรวจหลอดเลือดแดงใหญ่ของช่องท้อง ดูการตีบ-ตัน
การตรวจอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen)
ได้แก่ มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก ไส้ติ่ง
-ตรวจมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก
-วินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ

ข้อจำกัดของการอัลตร้าซาวด์
อัลตร้าวซาวด์ไม่สามารถใช้การตรวจอวัยวะส่วนที่มีลมได้ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร เป็นต้น
อัลตร้าซาวด์ไม่สามารถใช้ตรวจอวัยวะที่เป็นกระดูกได้
เตรียมตัวอย่างไร…
ตรวจช่องท้องส่วนบน
ควรงดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิดประมาณ 4-6 ชม.ก่อนตรวจ (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้) เพื่อให้เวลาถุงนํ้าดีเก็บกักนํ้าดี และเพื่อลดปริมาณลมในกระเพาะและลำไส้ ซึ่งจะช่วยให้เห็นอวัยวะต่างๆ ได้อย่างชัดเจน
ช่องท้องส่วนล่าง
การตรวจช่องท้องส่วนล่างเป็นการตรวจที่จำเป็นต้องให้มีนํ้าปัสสาวะมากๆ ในกระเพาะปัสสาวะ เพราะนํ้าในกระเพาะปัสสาวะจะช่วยดันลำไส้ออกจากช่องเชิงกราน ทำให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก และพยาธิสภาพอื่นๆ ได้ดีขึ้น ก่อนเข้ารับการตรวจคนไข้ควรดื่มน้ำรอไว้ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายกลั่นปัสสาวะเพิ่ม จะทำให้การตรวจง่ายขึ้น
ขั้นตอนการตรวจอัลตร้าซาวนด์ช่องท้อง
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะเป็นผู้ทำการตรวจ โดยให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง
- จากนั้นแพทย์นำเจลมาทาที่บริเวณผิวหนัง เพื่อช่วยในการส่งผ่านคลื่นเสียงจากหัวตรวจ ผ่านผิวหนังเข้าไปดูอวัยวะต่างๆ
- ในขณะตรวจแพทย์จะกดหัวเครื่องตรวจบนร่างกายส่วนที่จะตรวจเบาๆ เคลื่อนไปจนทั่วบริเวณที่ตรวจ โดยแพทย์และผู้ป่วยจะมองเห็นภาพอวัยวะภายในจากการตรวจบนจอเครื่องตรวจ
- ใช้ระยะเวลาในการตรวจประมาณ 10-45 นาที ขึ้นกับตำแหน่งอวัยวะที่ต้องการตรวจ

